NEW!! หากมีหน้า pop up ขึ้นมาให้อัพเดทเวอร์ชั่นของเบราว์เซอร์ Goggle Chrome ให้เป็นเวอร์ชั่นปัจจุบัน

วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การแข่งขันหุ่นยนต์ กระทงล้ำยุค

การแข่งขันหุ่นยนต์ กระทงล้ำยุค
วันที่แข่งขัน 25 พฤศจิกายน 2558 
เวลา 09.00 – 14.00  น.
                เทคโนโลยี มีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียน ต่อชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงจิตสำนึก ทำให้นักเรียนสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง ชุมชนและสังคม นำไปสู่การมีส่วนร่วมในการพัฒนาเทคโนโลยี สร้างนวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                ศตวรรษที่ 21 ถือเป็นยุคการเชื่อมโยงซึ่งกันและกันของสังคมและกิจกรรมของมนุษย์ที่อยู่เหนือ พรมแดนทางภูมิศาสตร์โลกกลายเป็นชุมชนหนึ่งเดียว อย่างที่เรียกว่า โลกาภิวัฒน์การสร้างนวัตกรรมเป็นกิจกรรมที่สร้าง สัมพันธ์อันดีระหว่างกัน เทคโนโลยีจึงเป็นเครื่องเพื่อสร้างความเข้มแข็งของชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม ในประเทศที่ พัฒนาแล้วทั่วโลก กระบวนการทางเทคโนโลยีเป็นการสร้างการมีส่วนร่วม เพื่อสร้างเครือข่ายสังคม ตลอดจน การสร้างจิตสำนึกในการดำรงชีวิตที่มีคุณธรรม มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ เคารพในสิทธิของ ตนเองและผู้อื่น รักสิ่งแวดล้อม ดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมไทย
                ในการแข่งขันหุ่นยนต์พลังงานสะอาดจัดการแข่งขันภายใต้หัวข้อหุ่นยนต์ล้ำยุค รูปแบบสนามและเกมการแข่งขันได้จำลองสิ่งแวดล้อมพลังงานสะอาด และวัฒนธรรมลอยกระทง เพื่อให้นักเรียน ได้ออกแบบและสร้างหุ่นยนต์โดยอาศัยความรู้พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี บูรณาการด้วย หลักการทางวิศวกรรม ศิลปะความเป็นไทย บนพื้นฐานของคณิตศาสตร์
ข้อกำหนด / คุณสมบัติผู้เข้าประกวดแข่งขันหุ่นยนต์
Ø การประกวดหรือแข่งขันเป็นทีมแต่ละทีมประกอบด้วย นักเรียนไม่เกิน 4 คนและครูผู้ควบคุมทีม 1-2 คน
Ø  ห้องเรียนสามารถสมัครเข้าประกวดแข่งขันได้ทุกประเภทไม่เกินประเภทละ 2 ทีมในแต่ละกติกา
Ø  วิธีการและขั้นตอนการประกวดและแข่งขันหุ่นยนต์ให้เป็นไปตามกติกาที่ฝ่ายออกแบบและเทคโนโลยีกำหนด
Ø  ผู้เข้าประกวดและแข่งขันหุ่นยนต์ต้องเป็นนักเรียนระดับมัธยมต้น และระดับมัธยมปลาย และแบ่งการแข่งขันเป็น ระดับมัธยมต้น และระดับมัธยมปลาย

1. ข้อก าหนดเฉพาะเกี่ยวกับตัวหุ่นยนต์
                1.1 ขนาดของหุ่นยนต์ก่อนเริ่มการแข่งขัน ต้องมีความกว้างไม่เกินกระดาษ A4
                1.2 เมื่อเริ่มการแข่งขัน หุ่นยนต์สามารถเปลี่ยนขนาดและขยายร่างได้ แต่ไม่สามารถแยกตัวได้
                1.3 ไม่จำกัดน้ าหนักของหุ่นยนต์
                1.4 วิธีการเคลื่อนที่มีข้อกำหนดดังนี้
                                - หุ่นยนต์ที่ใช้ในการแข่งขันจะมีลักษณะสามารถเคลื่อนที่ได้ โดยใช้พลังงานทดแทนหรือ
                                   แบตเตอรี่
                1.5 ไม่จำกัดวิธีทำภารกิจจำนวนและชนิดของมอเตอร์
                1.6 หุ่นยนต์จะมีหรือไม่มีเซนเซอร์ก็ได้และไม่จำกัดจำนวน
                1.7 หุ่นยนต์แต่ละตัวจะใช้หรือไม่ใช้แผงวงจรในการควบคุมก็ได้หรือใช้แผงวงจรในการ ควบคุม ชนิดใดก็ได้จะมีการเขียนโปรแกรมหรือไม่มีโปรแกรมก็ได้ การควบคุมการท างานของหุ่นยนต์จะ            ควบคุมแบบมีสายหรือไร้สายก็ได้
                1.8 ให้สร้างและประกอบหุ่นยนต์มาให้เรียบร้อย และส่งตรวจก่อนทำการแข่งขัน 1 ชั่วโมง
วัสดุที่น ามาประกอบเป็นโครงสร้างหุ่นยนต์
                - ใช้วัสดุทั่วไปอย่างไม่จ ากัด เช่น พลาสติก ไม้ และโลหะ เป็นต้น
                - กรณีใช้วัสดุสำเร็จรูปให้ประกอบมาให้เรียบร้อย
                - ใช้รีโมทคอนโทรลได้ทุกชนิด ทั้งแบบมีสายหรือไร้สาย สามารถประกอบเป็นชุดมาก่อนได้
                - หากเป็นแบบมีสาย ไม่จำกัดความยาวของสายสัญญาณ อุปกรณ์ตัวหนีบจับต้องแยกชิ้นส่วนมา   มอเตอร์และ ชุดเกียร์ สามารถประกอบมาก่อนได้ ขั้วสายไฟฟ้าระหว่างมอเตอร์และรีโมท เชื่อมต่อ   หรือบัดกรีมาก่อนล่วงหน้าให้เรียบร้อย
1.9 จำนวนหุ่นยนต์ที่ใช้ในการแข่งขัน
                - ใช้หุ่นยนต์ 1 ตัว
1.10 ผู้เข้าแข่งขันมีเวลาทดสอบหุ่นยนต์จำนวน 5 วัน
1.11 ในการออกแบบหุ่นยนต์ต้องไม่ทำลายพื้นสนาม หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของสนาม ถ้าละเมิด ถือว่าผิดกติกาไม่นับผลการแข่งขันในรอบนั้น ๆ
2. ข้อก าหนดแหล่งจ่ายพลังงาน
                2.1 ทีมผู้เข้าแข่งขันต้องเตรียมแหล่งจ่ายพลังงานของหุ่นยนต์ สำหรับใช้ในการแข่งขันเอง
                2.2 ไม่จำกัดชนิดและจำนวนของแหล่งจ่ายพลังงาน แต่แรงดันไฟฟ้าของแหล่งจ่ายพลังงานที่ ใช้ใน           หุ่นยนต์ต้องไม่เกิน 12 โวลต์ กระแสไม่เกิน 2100 mAh
                - กรณีใช้รีโมทคอนโทรลแบบมีสาย ให้นับแรงดันไฟฟ้ารวมกันระหว่างตัวหุ่นยนต์และรีโมท      คอนโทรล
                - กรณีใช้รีโมทคอนโทรลแบบไร้สาย ให้นับแรงดันไฟฟ้าที่ตัวหุ่นยนต์อย่างเดียว
                - กรณีใช้แหล่งจ่ายพลังงานแบบแบตเตอรี่อัดประจุ (LIPO) ต้องให้แรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 12 โวลต์                และหากชาร์ตแรงดันไฟฟ้าเต็มต้องมีแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 13 โวลต์  
                2.3 ไม่อนุญาตให้ใช้เครื่องยนต์ กลไกที่เกิดการจุดระเบิดและห้ามใช้เชื้อเพลิงในการทำงาน ของ  หุ่นยนต์และห้ามใช้แหล่งจ่ายพลังงานใด ๆ ก็ตามที่คณะกรรมการลงความเห็นว่าเป็นอันตราย            หรือไม่ เหมาะสมในการแข่งขัน
3. วิธีการควบคุมหุ่นยนต์
                3.1 ในการแข่งขันแต่ละครั้ง หุ่นยนต์ต้องมีผู้ควบคุมหุ่นยนต์ตัวละ 1 คนเท่านั้น
                3.2 เมื่อเริ่มการแข่งขันแล้ว ผู้เข้าแข่งขันสามารถสัมผัสหุ่นยนต์ได้ก็ต่อเมื่อมีการขอเริ่มใหม่ (Retry)            หลังจากได้รับสัญญาณอนุญาตจากกรรรมการสนามแล้ว จึงจะสัมผัสหุ่นยนต์ได้
                3.3 ไม่อนุญาตให้กระทำการใดๆที่เป็นการรบกวนหรือให้ความช่วยเหลือแก่หุ่นยนต์ที่อยู่ใน          ระหว่างการแข่งขันยกเว้นควบคุมผ่านทางรีโมทคอนโทรลเท่านั้น บุคคลใดที่ฝ่าฝืนกฎนี้จะถูก      พิจารณาให้ออก จากบริเวณการแข่งขันทันที
4. รูปแบบวิธีการจัดการแข่งขัน
                4.1. จัดสายการแข่งขัน เป็น 5 สาย รอบที่ 1 แข่งขันครั้งละ 5 ทีม  ให้นับคะแนนทีมที่ทำภาระกิจได้           สำเร็จ
                4.2 แข่งขันรอบต่อไปและคัดเลือกทีมที่ทำคะแนนได้ดีที่สุดแล้วนำมาเรียงลำดับ 5 รางวัล


                

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น