NEW!! หากมีหน้า pop up ขึ้นมาให้อัพเดทเวอร์ชั่นของเบราว์เซอร์ Goggle Chrome ให้เป็นเวอร์ชั่นปัจจุบัน

วันศุกร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2557

Creative Classroom

การเรียนรู้โครงสร้างวิศวกรรมพื้นฐานหุ่นยนต์และพลังงานสะอาดที่ยั่งยืน
Creative Classroom
        แนวคิดในการพัฒนาสำหรับการจัดการเรียนการสอนพื้นฐานวิศวกรรมและพลังงาน เป็นการอ้างอิงเนื้อหากับกลุ่มสาระการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การออกแบบเทคโนโลยี และคอมพิวเตอร์ โดยยึดตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ที่มีรูปแบบการจัดการเรียนการสอน เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง สร้างกระบวนการเรียนรู้ทางวิศวกรรมจากการทดลองเชิงปฏิบัติการและมีการกำหนดแผนการสอนเป็นรายชั่วโมง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถฝึกการคิด การออกแบบ และสามารถสร้างนวัตกรรมได้
          เพื่อให้แนวทางในการใช้แผนการจัดการเรียนการสอนทำได้ง่ายและเหมาะสม จึงจัดเนื้อหาการเรียนเกี่ยวกับพื้นฐานวิศวกรรม เช่น การทำงานของมอเตอร์ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า และวงจรไฟฟ้า การทำงานของเกียร์ โซ่ และรอก พลังงานทดแทน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานลม พลังงานน้ำเกลือ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และเข้าใจโดยการปฎิบัติทดลอง พิสูจน์ทราบทฤษฎีที่ได้เรียนมาจากวิชาพื้นฐาน และแก้ปัญหาด้วยตนเอง
                Green Mech ย่อมาจาก Green Mechanics หรือแปลเป็นไทยว่า เครื่องกลสีเขียว เป็นกิจกรรมที่รณรงค์และกระตุ้นให้เยาวชนได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์โดยใช้ตัวต่ออัจฉริยะ เป็นการเสริมทักษะ เสริมสร้างจินตนาการ ฝึกสมาธิ และพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เชิงวิศวกรรมทางด้านกลไกต่างๆและใช้หลักพลังงานพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ และพลังงานสะอาดที่ยั่งยืน ฝึกฝนผู้เรียนเป็นวิศวกร หรือนักวิทยาศาสตร์ เป็นผู้ที่มีความสามารถสร้างนวัตกรรมเพื่อประเทศชาติและประชาคมโลกต่อไป
                ห้อง Creative Classroom  เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสมัยใหม่ ปลูกฝังให้ผู้เรียนได้กล้าแสดงความคิด พัฒนาความคิดอย่างต่อเนื่องและนำความคิดมาถ่ายทอดออกมาเป็นการออกแบบและนำเทคโนโลยีมาสร้างเป็นนวัตกรรม ผลสัมฤทธ์ของผู้เรียนดังที่กล่าวมาย่อมเป็นที่ต้องการของประชาคมโลกในปัจจุบัน
                                                                                เรียบเรียงโดย นายวีระพจน์ รัตนรัตน์
                                                                                หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
                                                                                ที่มาข้อมูล : ผศ.ดร.ชัยยพล ธงชัยสุรัชต์กูลคอบ., วศ.ม., Ph.D.

















ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น