NEW!! หากมีหน้า pop up ขึ้นมาให้อัพเดทเวอร์ชั่นของเบราว์เซอร์ Goggle Chrome ให้เป็นเวอร์ชั่นปัจจุบัน

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2559

Creative Classroom กับการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา


Creative Classroom กับการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา
โครงสร้างวิศวกรรมพื้นฐานหุ่นยนต์และพลังงานสะอาดที่ยั่งยืน
                                                                                                                 เรียบเรียงโดย นายวีระพจน์ รัตนรัตน์          
                                                       หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนดรุณาราชบุรี


            การพัฒนาการจัดการเรียนพื้นฐานวิศวกรรมและพลังงานสะอาดที่ยั่งยืน เป็นกิจกรรมการเรียนแบบสะเต็มศึกษา(STEM : Science , Technology , Engineering and Mathematics) การบูรณาการการเรียน วิทยาศาสตร์ การออกแบบเทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ โดยใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กระบวนการจัดการจัดการเรียนการสอน เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยเป็นการเรียนแบบโครงงานและกิจกรรม



            Green Mech ย่อมาจาก Green Mechanics หรือแปลเป็นไทยว่า เครื่องกลสีเขียว เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านชุดอุปกรณ์ Green Mech เพื่อเสริมสร้างกระบวนการคิด จินตนาการ ฝึกสมาธิ พัฒนาทักษะเชิงวิศวกรรมด้านกลไก พลังงานและพลังงานทดแทนที่เป็นพลังงานสะอาด สร้างกระบวนการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ได้แก่ กำหนดปัญหาหรือความต้องการ รวบรวมข้อมูล เลือกวิธีการ ออกแบบและปฎิบัติการ ทดสอบ ปรับปรุงแก้ไข ประเมินผล และพัฒนาต่อ ทั้งนี้เป็นการฝึกฝนผู้เรียนเลือกที่จะพัฒนาศักยภาพตนเอง เช่น วิศวกร นักวิทยาศาสตร์/พลังงาน นักเทคโนโลยี ที่สามารถสร้างนวัตกรรมสำหรับสังคมต่อไป   
            โรงเรียนดรุณาราชบุรีจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาเรื่องโครงสร้างวิศวกรรมพื้นฐานหุ่นยนต์พลังงานสะอาด โดยจัดสร้างห้อง “Creative Classroom ”  และทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) ความร่วมมือทางวิชาการกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือผ่านทางสมาคมศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัย และดำเนินจัดการเรียนรู้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2556 ด้วยการจัดการเรียนในคาบเรียน การเรียนนอกเวลาเรียนประจำวัน การจัดค่ายเรียนรู้ การฝึกฝนส่งนักเรียนแข่งขันระดับประเทศและระดับนานาชาติ


            กิจกรรมการเรียนเป็นการเรียนเกี่ยวกับพื้นฐานวิศวกรรม ระบบพลังงานและพลังงานทดแทน เช่น การทำงานของมอเตอร์/เครื่องกำเนิดไฟฟ้า วงจรไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานเคมี พลังงานจากแหล่งต่างๆ ระบบกลไกการทำงานเรื่องของเกียร์ โซ่ รอก คาน ระบบพลังงานทดแทน และการใช้พื้นฐานความรู้จากการเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ วิศวกรรม รวมทั้งศิลปะ เพื่อสร้างนวัตกรรม
           


          ในการจัดกระบวนการการเรียน นักเรียนจะเรียนรู้เรื่องศักยภาพของอุปกรณ์แต่ละชนิดและแต่ละชิ้นส่วน ฝึกฝนการใช้อุปกรณ์ ประยุกต์การใช้อุปกรณ์ตามความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งต้องใช้พื้นฐานความรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ วิศวกรรม รวมทั้งศิลปะ และการฝึกออกแบบและนำอุปกรณ์ต่างๆมาสร้างจำลองสถานการณ์เพื่อแก้โจทย์ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวันเช่น แผ่นดินไหว ดินถล่ม ภูเขาไฟระเบิด นักเรียนจะต้องออกแบบจำลองระบบต่างๆให้เหมือนจริงแล้วคิดระบบเตือนภัยแจ้งให้ทราบทันที รวมออกแบบระบบขนย้ายผู้ประสบภัย ผู้ป่วย ให้ออกจากที่เกิดเหตุไปอยู่ในที่ปลอดภัย โดยต้องคำนึงถึงพลังงานทดแทนและกลไกที่ใช้ได้จริงที่มีอยู่ในธรรมชาติ

            นักเรียนที่มึความสนใจได้รับการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ เข้าราวมแข่งขันระดับประเทศ “Thailand Green Mech Contest” และเป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันระดับนานาชาติ “World Bond Robot Contest Green Mech” นักเรียนโรงเรียนดรุณาราชบุรีได้แข่งขันระดับนานาชาติ ได้แก่ ปี 2556 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ปี 2557 ระดับประถมศึกษา ปี2558 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยได้รับการสนับสนุนจากบริษัท ภาดา เอ็ดดูเคชั่น จำกัด รวมทั้งได้รับเกียรติบัตร โรงเรียนดรุณาราชบุรีฝึกกระบวนการคิด โครงสร้างวิศวกรรมพื้นฐานในหลักสูตรการเรียนการสอนแบบ STEM

ที่มาข้อมูล ผศ.ดร.ชัยยพล ธงชัยสุรัชต์กูล คอบ.วศ.ม., Ph.D.

หนังสือความรู้เบื้องต้นสะเต็ม สสวท.



ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น